เกร็ดความรู้

เมื่อลูกน้อยมีไข้ จะทำอย่างไรดี?

 

  เด็กผู้ชายอมปรอทวัดไข้: ภาพจาก http://www.sciencephoto.com         เชื่อว่าหากต้องดูแลเด็กๆเวลาที่มีไข้นั้น ผู้ปกครองหลายๆท่านคงส่ายหน้ากันเป็นแถว ทั้งนี้เพราะไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเองให้การปฐมพยาบาลลงไปนั้นถูกต้องหรือไม่ หรือให้รับประทานยาถูกต้องตามหลักการแล้วหรือยัง ซึ่งจากบทความ “รู้ได้อย่างไรว่า “มีไข้”” ได้แนะนำวิธีการเบื้องต้นในการสังเกตอาการและประเมินระดับความรุนแรงของอาการไข้ไปแล้ว ดังนั้นหากเด็กๆในความดูแลของท่านไม่ได้เข้าข่ายของอาการที่ต้องส่งต่อแพทย์ท่านก็สามารถปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการไข้เด็กๆได้โดยไม่ต้องกังวล

          

 

 สภาพแวดล้อม

  • ทำให้ห้องที่เด็กอยู่มีอากาศเย็นสบาย 
  • หากภายในห้องมีอากาศร้อนหรืออบอ้าว ให้เปิดพัดลมเพื่อระบายอากาศ

 

เด็กร้องไห้: ภาพจาก http://www.sciencephoto.com

เสื้อผ้า

  • ให้เด็กใส่เสื้อผ้าโปร่งๆและใช้ผ้าบางๆคลุม

 

อาหาร/เครื่องดื่ม

  • ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ (น้ำเปล่า, น้ำผลไม้เจือจาง, น้ำดื่มผสมผงเกลือแร่, เยลลี่, ฯลฯ)เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปกับเหงื่อและช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย

 

การดูแล

  • ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กอยู่แต่ภายในห้องหรือนอนพักบนเตียง สามารถให้เด็กเดินไปมาภายในบ้านได้ แต่ไม่ควรวิ่งหรือออกแรงมากจนเกินไป
  • หากมีไข้ร่วมกับอาการของโรคติดต่อ (เช่น อีสุกอีกใส หรือหวัด) ให้แยกเด็กที่มีไข้ออกจากเด็กคนอื่น, ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง

 

การให้ยาลดไข้

  • จำเป็นต้องรักษาไข้ด้วยยาลดไข้เมื่อเด็กรู้สึกไม่สบาย
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการให้ยาลดไข้ 
  • ให้ยาพาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าเด็กยังมีไข้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการร้ายแรงอย่างอื่นหากเด็กเป็นไข้เลือดออก

 

เด็กผู้หญิงมีไข้: ภาพจาก http://www.sciencephoto.com

การเช็ดตัวเพื่อลดไข้

        โดยส่วนใหญ่แล้วการให้ยาพาราเซตามอลจะช่วยทำให้เด็กรู้สึกสบายตัวขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรทำการเช็ดตัวร่วมด้วยหากเด็กมีไข้สูง และอุณหภูมิไม่ลดลงเมื่อได้รับยาพาราเซตามอล (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง วิธีการเช็ดตัว ได้ที่: วิธีการเช็ดตัวเพื่อลดไข้ (Tepid Sponge))

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. Neil K. Kaneshiro. When your baby or infant has a fever [Online]. 2012 [Cited 2012 May 05]; Available from: URL:http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000319.htm
2. Barton D. Schmitt. Should Your Children See a Doctor? Fever [Online]. 2011 [Cited 2011 January 8]; Available from: URL: http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/fever/
3. American Academy of Pediatrics. Treating a Fever Without Medicine [Online]. 2010 [Cited 2010 December 22]; Available from; URL: http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/fever/pages/Treating-a-Fever-Without-Medicine.aspx?nfstatus=401&nftoken=00000000-0000-0000-0000-000000000000&nfstatusdescription=ERROR%3a+No+local+token

4. Sullivan, J.E., Farrar, H.C., (2011). Clinical Report- Fever and Antipyretic Use in Children. Pediatrics, 127 (3), 580-587
5. นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2551) ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป. กรุงเทพมหานคร :โฮลิสติก พับลิชชิ่ง
 


เรียบเรียงโดย เภสัชกรศรายุทธ ทัฬหิกรณ์ และ เภสัชกรหญิงมนธีรา ยอดวัลลภ

 


ติดต่อเรา | แผนผังเว็ปไซต์
เข้าสู้เว็บไซต์