ตู้ยาโรงเรียน


เกร็ดความรู้

กระเพาะอาหารอักเสบ

       โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพรินหรือยาแก้ปวดเป็นประจำ เช่น เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ

อาการ
       จะมีอาการปวดจุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย

การรักษาเบื้องต้น

การปฏิบัติตัว
1.งดเครื่องดื่มกาเฟอีน ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม
2.งดสูบบุหรี่
3.กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่ากินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารมัน ของดอง หรืออาหารสุกๆดิบๆ หรือย่อยยาก ควรกินอาหารเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
4.เคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเร่ง หรือกินจนอิ่มมากเกินไป
5.ถ้าน้ำหนักมากควรลดน้ำหนัก
6.ออกกำลังกายเป็นประจำ หาวิธีการผ่อนคลายความเครียด

ให้ยารักษาตามอาการ
1.ถ้ามีอาการแสบท้องหรือปวดท้องตอนดึก หรือจุกเสียดแน่นหลังอาหารหรือมีประวัติกินยาแอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ให้ยาต้านกรด/ยาลดกรด ร่วมกับยาลดการสร้างกรด เช่น รานิทิดีน จากนั้นถ้ารู้สึกทุเลาลง หลังจากกินยาควรส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อรับยากินต่ออย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 8 สัปดาห์ตามอาการ
2.ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ควรส่งโรงพยาบาล ด่วน

การป้องกัน
       กินยาป้องกัน สำหรับผู้ที่กินยาแอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นประจำ แพทย์จะให้ยากินป้องกันควบคู่ไปด้วย อาจเป็นยาลดการสร้างกรด รานิทิดีน

เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 61-62.         


ร่วมสนับสนุนโดย มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (วพย.)