ตู้ยาโรงเรียน


เกร็ดความรู้

ปวดศีรษะจากความเครียด

       เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ พบได้ทุกวัย มักเริ่มมีอาการครั้งแรกในช่วงวัยหนุ่มสาว ไม่ทราบสาเหตุและกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด กินอาหารผิดเวลา อดนอน ตาล้าหรือเพลีย

อาการ
       ปวดตื้อๆหนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายกับเข็มขัดรัดแน่น นาน 30 นาที ถึง 1 สัปดาห์ อาการปวดคงที่ไม่รุนแรง มีบ้างที่อาจรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรประจำวัน

การรักษาเบื้องต้น

การปฏิบัติตัว
1.ควรนอนหลับพักผ่อน
2.นวดต้นคอหรือขมับด้วยมือ หรือยาหม่อง
3.อาจประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น

ให้ยารักษาตามอาการ
1.ถ้าปวดไม่มากให้ ยาพาราเซตามอล
2.ถ้าปวดมากให้ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน เมเฟนามิก 
3.อาจให้ยาแก้ปวดในข้อ 1. และ 2. ร่วมกับ ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ
4.ถ้าปวดรุนแรงมากขึ้น หรือปวดถี่ขึ้น (มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์) และมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม

การป้องกัน
1.นอนหลับพักผ่อนให้พียงพอ
2.ไม่คร่ำเคร่งกับการเรียนหรืองานมากจนเกินไป
3.กินอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้หิวจัด
4.หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า
5.ออกกำลังกายเป็นประจำ
6.หาวิธีหรือกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา สวดมนต์

เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 69-70


ร่วมสนับสนุนโดย มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (วพย.)